อาหารขยะ

อาหารขยะ ทำไมจึงอันตรายต่อสุขภาพ

อาหารขยะ
อาหารขยะ

 

อาหารขยะ (Junk Food) คืออาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อย มีแคลอรี่สูง โดยมักประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต ไขมัน หรือโซเดียมในปริมาณมาก เช่น น้ำอัดลม ของหวาน อาหารทอด ขนมขบเคี้ยว ขนมปังกรอบ หากรับประทานบ่อยครั้งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและเป็นปัจจัยก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า เป็นต้น

ทำไมอาหารขยะจึงอันตรายต่อสุขภาพ ?

อาหารขยะส่วนใหญ่มีคาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดี ไขมัน และโซเดียมในปริมาณมาก หากได้รับสารอาหารเหล่านี้เป็นประจำจะเกิดการสะสมในร่างกายและส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว ดังนี้

คาร์โบไฮเดรต แบ่งออกเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว (Simple Carbohydrate) คือน้ำตาลชนิดต่าง ๆ ทั้งน้ำตาลสังเคราะห์และน้ำตาลที่พบตามธรรมชาติในนมและผลไม้ กับคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (Complex Carcohydrate)  ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดดีที่ควรเลือกรับประทาน พบได้ในพืชตระกูลถั่ว ข้าว ผัก และธัญพืช หากเป็นธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีก็จะยิ่งอุดมด้วยคุณค่าทางสารอาหารและไฟเบอร์

ส่วนคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวนั้นย่อยง่าย ร่างกายจึงดูุดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็วในรูปของน้ำตาลกลูโคส เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น ตับอ่อนจะตอบสนองด้วยการหลั่งอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่กระตุ้นให้ร่างกายนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงาน แต่หากน้ำตาลในเลือดมีปริมาณมากจนร่างกายใช้ได้ไม่หมด อินซูลินจะส่งสัญญาณให้ตับเก็บน้ำตาลเอาไว้ และนำออกมาใช้เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

การบริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวอย่างน้ำตาลในปริมาณมากเป็นประจำ เช่น ขนมอบ คุกกี้ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ และอาหารเช้าซีเรียล ทำให้ตับอ่อนต้องหลั่งอินซูลินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน หรือเรียกว่ามีภาวะดื้ออินซูลิน หมายถึงผู้ที่มีน้ำตาลตกค้างอยู่ในกระแสเลือด ซึ่งเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคอ้วน สมัคร Sbobet