กินเนื้อดิบๆ สุกๆ ระวังโรคทริคิโนซิส (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่

การทำอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อยู่ในเขตชนบทกินเนื้อสัตว์ป่า หรือเนื้อที่ยังไม่สุก
อาการแทรกซ้อนของโรคนี้พบยาก ยกเว้นในกรณีที่รุนแรง เชื้อพยาธิอาจกระจายไปยังอวัยวะที่สำคัญซึ่งอาจทำให้เป็นอันตรายหรือเสียชีวิตได้ เช่น

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis)สมองอักเสบ (Encephalitis)เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)ปอดอักเสบ (Pneumonia)ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)
ส่วนการป้องกันโรคที่ดีที่สุดคือ การปรุงอาหารให้ถูกสุขลักษณะ โดย

ปรุงอาหารให้สุก ไม่ปรุงอาหารสุกๆ ดิบๆ การถนอมอาหารด้วยการรมควัน (Smoking) การดอง (Pickling) และการอบด้วยเตาไมโครเวฟ ไม่สามารถฆ่าเชื้อพยาธินี้ได้หากมีการบดหรือสับเนื้อเอง ให้แน่ใจว่าได้ทำความสะอาดเครื่องบดสับอย่างสะอาดหลังการใช้
เนื่องจากเชื้อพยาธินี้มักจะฝังตัวเองอยู่ในกล้ามเนื้อมากกว่าในลำไส้ ดังนั้นการตรวจอุจจาระมักจะไม่พบเชื้อนี้ การวิเคราะห์โรคจึงทำได้จากการสังเกตดูอาการร่างกาย เช่น ตาบวม กล้ามเนื้ออักเสบ และเป็นไข้ แต่เพื่อความแน่ใจ แพทย์อาจให้ทำการทดสอบดังต่อไปนี้

การตรวจเลือด – เพื่อดูปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาว (Eosinophils) ที่ก่อตัวเพื่อต่อสู้กับเชื้อการตัดชิ้นเนื้อที่น่องมาส่องกล้อง (Muscle biopsy) เพื่อหาเชื้อ ซึ่งถือเป็นวิธีตรวจที่ดีที่สุดของโรคนี้
โรคทริคิโนซิสมักไม่มีอาการรุนแรงและมักจะหายได้เองภายใน 2-3 เดือน อย่างไรก็ดี อาการอ่อนเพลีย ปวด และท้องเสีย อาจจะคงอยู่เป็นเดือนหรือปี โดยการติดเชื้อที่มีอาการให้เห็นแพทย์อาจจะจ่ายยาดังต่อไปนี้

ยาฆ่าพยาธิ (Anti-parasitic / Anti-helminthic) เช่น ยา Albendazole ยา Thiabendazole หรือ ยา Mebendazole ใช้ได้ดีในกรณีที่พบในระยะแรกๆ แต่หากเป็นกรณีที่พยาธิฝังตัวในเนื้อเยื่อแล้ว ยาเหล่านี้จะใช้ได้ผลน้อยลง ยาแก้ปวด (Pain relievers) เพื่อช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) กรณีที่มีอาการแพ้อักเสบ